เมนู

[668] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน ป่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7 ก็ย่อม
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน
ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไร ย่อมเป็นผู้
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนั้นแล ย่อมเป็นผู้
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
(พึงขยายความบาลีไปจนกระทั่งถึงการแสวงหา)

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5


[669] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการ
เหล่านี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา.
สั่งโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์ 7
อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้. โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล.
[670] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำ
ให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่ง
โพชฌงค์ 7 อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-
โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด
โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนั้นแล ย่อมเป็นผู้
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
(พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไป
จนถึงการแสวงหา)

[671] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการ
เหล่านี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา. สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โพชฌงค์ 7 อัน ภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล. โพชฌงค์ 7 เป็น
ไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
มีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด
โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7

เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละสังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล.
(พึงขยายความโพชฌงค์สังยุต เหมือนมรรคสังยุต)

เรื่องในวรรคนี้ คือ


1. อัฏฐิกสัญญา 2. ปุฬวกสัญญา 3. วินีลกสัญญา 4. วิจฉิททก-
สัญญา 5. อุทธุมาตกสัญญา 6. เมตตา 7. กรุณา 8. มุทิตา 9. อุเบกขา
10. อานาปานสติ.
จบอานาปานวรรคที่ 7 แห่งโพชฌงค์สังยุต
1. อสุภสัญญา 2. มรณสัญญา 3. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 4. สัพพ-
โลเกอนภิรตสัญญา 5. อนิจจสัญญา 6. อนิจเจทุกขสัญญา 7. ทุกเธอนัตต
สัญญา 8. ปหานสัญญา 9. วิราคสัญญา 10. นิโรธสัญญา.
จบนิโรธวรรคที่ 8 แห่งโพชฌงค์สังยุต
[672] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ
แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่สมุทร
ทั้ง 2 อย่าง ๆ ละ 6 รวมเป็น 12 เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.
จบคังคาเปยยาลที่ 9
[673] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี 2 เท้าก็ดี 4 เท้า
ก็ดี เท้ามากก็ดี มีประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัว
อย่าง.